เมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ อธิบดีกรมการขนส่งทางราง (ขร.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดสัมมนาโครงการศึกษาออกแบบ และพัฒนาระบบฐานข้อมูลผู้ประกอบการและการออกใบอนุญาตด้านการขนส่งทางรางผ่านระบบดิจิทัล (e-License R) ครั้งที่ 2 ว่า ขณะนี้ ขร.อยู่ระหว่างเร่งจัดทำรายละเอียดต่างๆ ในการออกใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งทางราง ทั้งใบอนุญาตผู้ประจำหน้าที่ และการจดทะเบียนรถขนส่งทางราง ซึ่งจะมีการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอีกครั้งประมาณปลายเดือน ส.คคำพูดจาก ฟรี เกมสล็อตทดลองเล่น. 66 เพื่อนำไปประกอบการจัดทำใบอนุญาตการขนส่งทางรางต่อไป คำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
นายพิเชฐ กล่าวต่อว่า ขร.พร้อมดำเนินการออกใบอนุญาตฯ ทันที เมื่อร่าง พ.ร.บ.การขนส่งทางราง มีผลบังคับใช้ ซึ่งต้องมีการเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดใหม่พิจารณา เพื่อร้องขอให้นำร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ กลับมาพิจารณาในสภาผู้แทนราษฎรต่ออีกครั้ง คาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปลายปี 66 หรือปี 67 อย่างไรก็ตาม สำหรับใบอนุญาตฯ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.ใบอนุญาตสำหรับผู้ประกอบกิจการขนส่งทางราง ปัจจุบันมีไม่เกิน 10 ราย โดยใบอนุญาตฯ มีอายุเท่ากับอายุสัมปทานที่ผู้ประกอบการได้รับ
2.ใบอนุญาตสำหรับผู้ประจำหน้าที่ อาทิ พนักงานขับรถไฟ/รถไฟฟ้า/รถไฟความเร็วสูง และพนักงานควบคุมการเดินรถ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่รวมประมาณ 2,026 คน โดยใบอนุญาตฯ มีอายุ 5 ปี ให้สำหรับผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป และ 3.ใบอนุญาตสำหรับรถขนส่งทางราง ซึ่งผู้ประกอบการต้องนำข้อมูล อาทิ รถไฟ/รถไฟฟ้า/รถราง มีตู้กี่ตู้ มาจดทะเบียนทั้งหมด ปัจจุบันมีประมาณ 10,266 ตู้ โดยใบอนุญาตฯ มีอายุ 7-8 ปี ทั้งนี้ หาก ขร.พบว่า ผู้ประกอบการฯ พนักงานขับรถ และรถขนส่งทางราง ไม่มีใบอนุญาตฯ หรือไม่ส่งข้อมูลให้ ขร.ตรวจสอบ จะมีบทลงโทษทั้งจำและปรับ
นายพิเชฐ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันอุบัติเหตุขนส่งทางราง และรถไฟ-รถไฟฟ้าขัดข้อง ยังเกิดขึ้นทุกเดือน บางเดือน 9-10 ครั้ง บางเดือน 15 ครั้ง ยังไม่เคยมีเดือนใดที่อุบัติเหตุและรถไฟฟ้าขัดข้องเป็น 0 อีกทั้ง ไทยยังไม่มีการควบคุมการให้บริการขนส่งทางราง ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะอื่นมีการควบคุมหมดแล้ว อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า หาก ขร.สามารถออกใบอนุญาตขนส่งทางรางได้ จะทำให้ประชาชนเกิดความปลอดภัยในการใช้บริการระบบรางมากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะทำให้อุบัติเหตุ และรถไฟ-รถไฟฟ้าขัดข้องลดลงได้
โดย ขร.ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 3-5 ปี หลังจาก ขร.ออกใบอนุญาตฯ จะทำให้อุบัติเหตุ รวมถึงรถไฟ-รถไฟฟ้าขัดข้องเป็น 0 ได้ เพราะผู้ประกอบการต้องรายงานความพร้อมของทั้งตัวรถ และพนักงานขับรถ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความปลอดภัยให้ ขร.ตรวจสอบก่อนให้บริการ ซึ่งหากผู้ประกอบการใดให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ และเกิดอุบัติเหตุ ก็จะมีโทษทั้งจำและปรับ เพิ่มเติมจากเดิมที่มีแต่โทษทางแพ่ง แค่ชดใช้ค่าเสียหาย
นายพิเชฐ กล่าวอีกว่า ขณะนี้ระบบขนส่งทางราง มีพนักงานขับรถไฟประมาณ 2,026 คน เป็นพนักงานขับรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 991 คน และที่เหลืออีก 1,035 คน เป็นพนักงานขับรถไฟเอกชน และรถไฟฟ้าส่วนรถขนส่งทางราง มี 10,266 คัน เป็นรถของ รฟท. 9,482 คัน และรถไฟฟ้า 784 คัน.